โรคตาบอดสี (Color Blindness)
top of page

โรคตาบอดสี (Color Blindness)



ผู้ที่เป็นโรคตาบอดสี (Color Blindness) จะเกิดปัญหาในการแยกแยะสีของวัตถุบางอย่าง ส่วนมากแล้วคนที่ตาบอดสีจะรับรู้สีได้ แต่จะสามารถแยกสีมีความคล้ายกันได้น้อย อย่างไรก็ตาม คนที่ตาบอดสีที่สามารถบอกสีได้ถูกต้อง เช่น ตาบอดสีแดง จะสามารถบอกชื่อสีแดงได้ถูกต้อง ซึ่งในความเป็นจริง มองเห็นสีแดงแตกต่างไปจากคนปกติ เพราะได้รับการสอนให้เรียกสีที่เค้ามองเห็นจากวัตถุนั้นๆ ว่า นี่คือสีแดง จึงมักจะบอกสีได้ถูกต้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นได้ หากประกอบอาชีพในบางอาชีพที่ต้องใช้สีในการบอกสัญลักษณ์


การทดสอบตาบอดสี

ผู้ที่ต้องการตรวจว่าเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจและปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตาหรือจักษุแพทย์ ซึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้ในการตรวจโรคตาบอดสี ได้แก่

- แผ่นภาพ Ishihara Chart ซึ่งลักษณะของแผ่นภาพชนิดนี้จะมีจุดวงกลมวงใหญ่และมีจุดวงกลมเล็ก ๆ ข้างใน ซึ่งจะซ่อนตัวเลขไว้และใช้สีที่แตกต่างกันเพื่อใช้ทดสอบ หากผู้ที่เป็นตาบอดสีจะไม่สามารถบอกตัวเลขจากภาพได้ถูกต้อง วิธีนี้สามารถคัดกรองผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่สามารถบอกได้ถึงระดับความรุนแรงของตาบอดสี

- การเรียงเฉดสี (Color Arrangement) ผู้ป่วยจะต้องไล่เฉดสีที่กำหนดมาให้ โดยต้องไล่เฉดสีที่คล้ายกันให้อยู่ใกล้กันได้อย่างถูกต้อง หากผู้ป่วยเป็นตาบอดสีจะเกิดความสับสนในการเรียงสีให้ถูกต้อง


คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะตาบอดสี

1. เนื่องจากเป็นอาการที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางป้องกันที่จะทำให้เกิดภาวะตาบอดสีในเครือญาติ

2. ในกรณีที่ไม่ได้เป็นโรคตาบอดสีแต่กำเนิด แต่มาเกิดอาการขึ้นภายหลังควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ และแนวทางในการรักษา

3. ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีสามารถสอบใบขับขี่ได้ และสามารถบอกความแตกต่างของสัญญาณไฟจราจรได้

4. งานที่ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีควรหลีกเลี่ยงได้แก่ งานด้านเคมี จิตรกร นักบิน ช่างอิเทคโทรนิกส์ หรืองานที่ต้องมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสิ่งต่าง ๆ


การป้องกันตาบอดสี

ตรวจเช็คสายตาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ผู้ที่ไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับผู้ที่เป็นตาบอดสี ควรสังเกตความผิดปกติของสายตาตนเองเช่นกัน เนื่องจากตาบอดสีเกิดได้จากสาเหตุอื่นด้วย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น โรคตาบางชนิด หรือยาบางประเภท เป็นต้น

bottom of page