ภาวะสายตาสั้นในเด็กแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 60%
top of page

ภาวะสายตาสั้นในเด็กแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 60%


ปัญหาแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็กวัยเรียน ปัจจุบันสายตาสั้นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการก้าวหน้าของเทคโนโลยี จากการเก็บข้อมูลประชากรทั่วโลกในปี 2019 แสดงให้เห็นว่ามีจำนวนประชากรทั่วโลกกว่า 32% ที่มีสายตาสั้น และคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจนถึง 60% ในปี 2050 ดังนั้นสายตาสั้นจึงเป็นหนึ่งในเรื่องใกล้ตัวที่ควรตระหนักและหาทางชะลอการเพิ่มขึ้นให้รวดเร็วที่สุด


สายตาสั้น (Nearsightness) เกิดจากเมื่อแสงมีการหักเหและเข้าสู่ดวงตา เกิดจุดโฟกัสบริเวณหน้าต่อจอประสาทตา ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม ลักษณะโครงสร้างของตา หรือประวัติการมีโรคประจำตัวและการใช้ยาต่างๆ และลักษณะการดำเนินชีวิตก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเช่นเดียวกัน


อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีหลายงานศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็กวัยเรียน ซึ่งสัมพันธ์กับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เด็กมีกิจกรรมการเรียนออนไลน์(online class)ที่เพิ่มมากขึ้น และมีกิจกรรมกลางแจ้ง(outdoor activitys) ที่ลดน้อยลง อ้างอิงจากงานวิจัยของ Saroj Gupta และคณะที่ได้ทำวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของกิจกรรมกลางแจ้งต่อการเพิ่มขึ้นของภาวะสายตาสั้น แสดงให้เห็นว่า การใช้เวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นที่ลดลง (Inverse relationship) ซึ่งมีสาเหตุจากสาร Dopamine ภายในร่างกายจะมีการตอบสนองเมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ การหลั่งของสาร Dopamine ส่งผลให้มีการยับยั้งการยืดของลูกตา (Inhibits axial elongation in eyeball) ดังนั้นแล้วถึงแม้ว่าสาเหตุของการเกิดสายตาสั้นจะมีสาเหตุจากพันธุกรรม ลักษณะโครงสร้างของตา แต่การดำเนินชีวิตก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นได้โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน ดังนั้นการทำกิจกรรมการแจ้งจึงเป็นหนึ่งในทางป้องกันและชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็กวัยเรียนด้วยเช่นกัน Ref : https://europepmc.org/article/pmc/pmc8837331

bottom of page