ทำไมใส่คอนแทคเลนส์สายตาไม่สบาย แม้จะใช้ค่าสายตาเดียวกับแว่น
top of page

ทำไมใส่คอนแทคเลนส์สายตาไม่สบาย แม้จะใช้ค่าสายตาเดียวกับแว่น



หลายคนช่วงสายตาไม่เยอะ สามารถใช้คอนแทคเลนส์ที่มีค่าสายตาเท่ากับค่าสายตาของแว่นได้ แต่เมื่อวันนึงที่ค่าสายตาเยอะขึ้น การใส่คอนแทคเลนส์ที่มีค่าสายตาเท่ากัน เริ่มมีความไม่สบายตา และคมชัดไม่เท่ากับแว่นตา วันนี้น้อง Yanisa นักทัศนมาตรของ WALTZ จะมาคลายปัญหานี้


ต้องเข้าใจว่าการใส่แว่นและคอนแทคเลนส์นั้น สิ่งหนึ่งที่แตกต่างอย่างมากคือระยะห่างระหว่างตาของเรากับแว่นตา หรือศัพท์เทคนิคเรียกว่า Back Vertex Distance หรือ BVD นั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าคอนแทคเลนส์ใส่ติดตาทำให้ค่า BVD นี้เทียบเท่า 0


แล้ว BVD เกี่ยวอะไรกับความไม่ชัด, BVD จะมีผลต่อกำลังค่าสายตาที่ "แท้จริง" กล่าวคือ เมื่อใส่เลนส์ชิดตามากขึ้น ค่าสายตาที่ "แท้จริง " ที่เรา "มองเห็นจริงๆ" จะมีการเพี้ยนไปจากค่าสายตาของเลนส์นั้นๆ นั่นอธิบายว่าเมื่อใส่คอนแทคเลนส์ที่ชิดตามากๆ ค่าสายตาที่ลูกค้าเห็นจึงเพี้ยนไปจากค่าสายตาที่ใช้กับแว่นตา


(แน่นอนว่าแว่นตาหลายแบบ เวลาใส่ก็มีความชิด-ห่างหน้าไม่เท่ากัน จึงมีผลต่อ BVD และค่าสายตาที่เรามองเห็นจริงๆด้วย ดังนั้นการใช้เลนส์ประเภท customizable จึงช่วยให้เราได้ค่าสายตาที่ถูกต้อง ซึ่งเราจะพูดถึงในบทความต่อๆไป)


 



แนวทางการจ่ายคอนแทคเลนส์สำหรับผู้มีค่าสายตาสูง

ผู้มีค่าสายตาสูงๆ เช่นสั้นตั้งแต่ -4.00 ขึ้นไป จึงควรเริ่มมีการทดกำลังของค่าสายตา ให้น้อยลงเมื่อใส่คอนแทคเลนส์ เช่น หากใส่แว่นค่าสายตา -4.50 ก็ควรจะใส่คอนแทคเลนส์ที่มีกำลังลดลงคือ -4.25 ก็จะทำให้ได้รับค่าสายตาแก้ไขการหักเหแสงที่ถูกต้อง มองเห็นภาพคมชัด เป็นธรรมชาติและสบายตา


ในกรณีที่ลูกค้ามีค่าสายตาที่มีความซับซ้อนและเอียงร่วมด้วย การเลือกค่าสายตาของคอนแทคเลนส์ในกรณีที่ BVD เปลี่ยนไป ก็ยิ่งมีความซับซ้อนในการคำนวณและเลือกค่าสายตาที่เหมาะสมกับลูกค้ามากขึ้น


ดังนั้นเพื่อให้การเลือกค่าสายตาสำหรับคอนแทคเลนส์ได้อย่างถูกต้อง ผู้อ่านจึงควรปรึกษานักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญให้ดูแลและคำนวณค่าสายตาที่เหมาะสม เพื่อการมองเห็นที่สบายตานั่นเองค่ะ


ลูกค้าสามารถเข้ารับคำปรึกษารวมถึงคำแนะนำได้ที่ WALTZ ทั้ง 5 สาขาค่ะ

-- Yanisa, นักทัศมาตร (Optometrist)


bottom of page