ปัจจุบันมีเลนส์ที่ใช้ในการลดอาการนี้ทั้งในคนที่มีค่าสายตาและไม่มีสายตา ซึ่งมีการใช้งานหน้าคอมพิวเตอร์ เดสก์ทอป รวมถึงการอ่านหนังสือ หรือกิจกรรมระยะใกล้เป็นระยะเวลานานหลายๆชั่วโมงต่อวัน ทำให้มีการทำงานของกล้ามเนื้อตามากกว่าปกติ ในผู้ป่วยบางคนที่อายุยังน้อยและมีกำลังการเพ่งดี อาจเกิดการAccommodation spasm (กล้ามเนื้อตาเกร็งค้าง) ทำให้เมื่อเงยหน้าขึ้นมองระยะไกลจะเห็นเป็นภาพเบลอ ไม่ชัด หลังจากทำงานในระยะใกล้นานๆ และติดต่อกันเป็นระยะนานหลายวัน(เป็นสัปดาห์) อีกอาการคือความช้าในการปรับสายตาระหว่างไกลมาใกล้ หรือใกล้มาไกลต้องใช้เวลาสักพักหนึ่ง ผลที่ตามมาคือ
1. ความไม่ต่อเนื่องในการใช้งานสายตา
2. สายตาสั้นเทียม “Pseudomyopia” (การมองเห็นในระยะไกลจะไม่ชัดเท่าเดิม คล้ายตัวเองเป็นสายตาสั้นช่วงหนึ่ง)
ตอนนี้มีเลนส์ที่ใช้ในการลดอาการเพ่ง หลายแบรนด์หลายสัญชาติ แต่หัวใจหลักของเลนส์เหล่านี้คือ การใส่ค่าให้ตาบวกน้อยๆ(Addition)ไว้ด้านล่าง ซึ่งทำให้ลดการทำงานของตาในระยะใกล้ได้ (เพ่งน้อยลง) ความสบายตาจะมากขึ้นเพราะตาไม่ได้ทำงานหนัก ในบางคนจะรู้สึกได้ถึงอาการปวดตา ปวดหัว ลดน้อยลง โดยหลังจากการใช้สายตามากเกินไปจะมีอาการที่มักพบได้บ่อย
1. ปวดตา ปวดกระบอกตา
2. ตาแห้ง คันตา แสบตา มีน้ำตาไหล ตาแดง
3. มองเห็นไม่ชัด
4. ดวงตาไวต่อแสงมากขึ้น
ทั้งนี้การใช้งานของแต่ละคนไม่เท่ากัน และความไวในการรับภาพก็ไม่เท่ากัน เลนส์ชนิดนี้อาจจะตอบโจทย์กับคนบางกลุ่มไม่ใช่ทุกคนที่ใช้เลนส์ประเภทนี้แล้วจะหาย ดังนั้นการจะใช้เลนส์ชนิดนี้ต้องได้รับคำแนะนำในการจ่ายค่า Addition ให้ถูกต้องกับความต้องการของผู้ป่วยเป็นรายบุคคล จากนักทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์
Comments